fbpx
Skip to content Skip to footer

ผลวิจัยมหาวิทยาลัย Cambridge เผยเหมืองบิทคอยน์จีนครองสัดส่วน 65% ของ Hash Rate ทั้งหมด

หน่วยงานศึกษาวิจัยเรื่องการเงินทางเลือกใหม่ของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ (CCAF) แห่งประเทศอังกฤษ ได้เปิดตัวแผนที่เหมืองบิทคอยน์ โดยแสดงค่า Hash Rate เฉลี่ยรายเดือนของแต่ละประเทศทั่วโลก โดยรวบรวมข้อมูลมาจากเว็บไซต์ Mining Pools ต่าง ๆ เช่น ViaBTC Poolin และ BTC.com

โดยทางมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์อ้างว่าแผนที่ดังกล่าวเป็นแพลตฟอร์มแรกที่เปิดเผยตำแหน่งของเหมืองบิทคอยน์โดยละเอียดให้แก่สาธารณะชนได้รับรู้

โดยข้อมูลชี้ว่าประเทศจีนเป็นแหล่งรวมศูนย์ของการขุดบิทคอยน์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยครองสัดส่วนกำลังการประมวลผล (Hash Power) กว่า 65.08% ซึ่งสูงกว่าประเทศสหรัฐอเมริกาที่ตามมาเป็นอันดับสองถึง 9 เท่าโดยอยู่ที่ 7.24% ตามมาด้วยรัสเซียที่ 6.90% คาซัคสถาน 6.17% มาเลเซีย 4.33% และอิหร่านที่ 3.82% ขณะที่ประเทศอื่น ๆ ทั่วโลกมีกำลังการประมวลผลรวมกันอยู่ที่ 6.5% โดยประเทศไทยมีกำลังการประมวลผลอยู่ที่ 0.40% เท่านั้น

แผนที่ดังกล่าวยังแสดงข้อมูลย้อนหลังให้ผู้ใช้งานทำการศึกษาการเปลี่ยนแปลงของกำลังประมวลผล โดยสามารถเลือกย้อนดูได้ค่าเฉลี่ยไปได้จนถึงไตรมาสที่ 3 ของปี 2019

นอกจากนี้ผู้ใช้งานยังสามารถเลือกดูข้อมูลได้ทั้งของทั่วโลกและเฉพาะในประเทศจีน โดยข้อมูลระบุว่าครึ่งหนึ่งของกำลังขุดในจีนมีต้นกำเนิดมาจากมณฑลซินเจียงทางตะวันตกของประเทศ ซึ่งคิดเป็นสัดส่วน 35.76% หรือกว่า 1 ใน 3 ของ Hash Rate ทั้งโลก

ขณะที่มณฑลเสฉวนตามมาในอันดับที่สองโดยมีกำลัง Hash Rate อยู่ที่ 9.66% ตามมาด้วยเขตปกครองตนเองมองโกเลียในที่ 8.07% มณฑลยูนานที่ 5.42% และปักกิ่งที่ 1.73% โดยกำลังการขุดส่วนใหญ่ที่อยู่ในมณฑลซินเจียงและยูนนานนั้นใช้พลังงานหมุนเวียนเช่นพลังงานน้ำเป็นส่วนใหญ่ จึงทำให้มีต้นทุนค่าไฟฟ้าที่ถูกและกลายเป็นจุดหมายยอดนิยมของเหมืองขุดบิทคอยน์

การเกิด Bitcoin Halving กำลังจะมีขึ้นอีกภายในสี่วันข้างหน้า โดยล่าสุดค่า Hash Rate ได้ปรับตัวขึ้นสร้างจุดสูงสุดใหม่อีกครั้งเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ข่าวอื่นที่เกี่ยวข้อง : Hash Rate พุ่งทำสถิติใหม่อีกครั้ง เตรียมรับโค้งสุดท้าย Bitcoin Halving

Leave a comment

เกี่ยวกับ NewsFirstLine

สื่อชั้นนำด้านบล็อกเชนและคริปโตในภูมิภาคเอเชีย นำเสนอข่าวสารด้านเทคโนโลยีและการลงทุนในสกุลเงินดิจิทัลอย่างรอบด้านและเจาะลึก ครอบคลุมทั้งภูมิภาคเอเชียเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะสิงคโปร์และประเทศไทย

สมัครรับข่าวสารจาก SCN