fbpx
Skip to content Skip to footer

แบงก์ชาติกัมพูชา เล็งใช้เทคโนโลยี DLT ลดการใช้เงินดอลลาร์ภายในประเทศ

แบงก์ชาติกัมพูชา เตรียมเปิดตัวเทคโนโลยี Distributed Ledger Technology หรือ DLT เพื่อนำมาใช้กับระบบการชำระเงินภายในประเทศภายในสิ้นปีนี้ โดยจะช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถโอนเงินหากันได้โดยใช้ QR Codes ผ่านโมบายแอปพลิเคชัน

เนื้อหาจากงานประชุมโดยผู้ช่วยผู้ว่าการและผู้อำนวยการทั่วไปของ แบงก์ชาติกัมพูชา Serey Chea ระบุไว่ว่าจุดประสงค์ที่นำเทคโนโลยี DLT มาใช้ในการชำระเงินเพื่อลดการใช้เงินสกุลดอลลาร์ภายในประเทศลง

“กัมพูชา ถือเป็นประเทศที่พึ่งพาเงินดอลลาร์สูงเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก โดยเงินดอลลาร์มีสัดส่วนสูงถึง 90% ของระบบเศรษฐกิจ และเราทราบดีว่ามันไม่ใช่เรื่องดีนักในการพึ่งพาเงินดอลลาร์ในระบบเศรษฐกิจมากเกินไป”

เธอมองว่าการที่กัมพูชานิยมใช้เงินดอลลาร์มากกว่าสกุลเงินท้องถิ่นเป็นเพราะเหตุผลทางจิตวิทยามากกว่าเรื่องปัจจุยพื้นฐาน เพราะสเกุลเงินของประเทศกัมพูชานั้นมีความเข้มแข็ง เงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำ และอัตราแลกเปลี่ยนก็มีเสถียรภาพ

จากการสำรวจโดยแบงก์ชาติกัมพูชา ประชาชนไม่นิยมใช้จ่ายด้วยสกุลเงินรีลเพราะอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินรีลและดอลลาร์อยู่ที่ 4,000 รีล ต่อ 1 ดอลลาร์ การที่ต้องจ่ายเงินด้วยธนบัตรที่มีเลขศูนย์เยอะ ๆ อาจทำให้เกิดความสับสนได้

“เราคิดว่าหากมีการชำระเงินในรูปแบบอีเล็กทรอนิกส์จะช่วยให้ผู้คนไ่ม่ต้องสับสนกับตัวเลขศูนย์จำนวนมากและยังไม่ต้องหอบธนบัตรเป็นตั้ง ๆ ไว้ในกระเป๋าสตางค์อีกด้วย”

เธอยังกล่าวด้วยว่าระบบชำระเงินด้วย DLT ได้ถูกพัฒนามาเป็นระยะเวลาสี่ถึงห้าปีแล้วและจะพร้อมใช้งานได้ภายในปีนี้ โดยมีธนาคาร 12 แห่งเข้าร่วมการทดสอบ โดยแพลตฟอร์มดังกล่าวถูกออกแบบมาเพื่อให้ธนาคารพาณิชย์ ผู้ให้บริการ E-wallet และลูกค้าทั่วไปสามารถรับส่งเงินไปมาได้สะดวกและไร้รอยต่อ

นอกจากนี้ ธนาคารกลางกัมพูชายังได้เริ่มพัฒนาโครงการโอนเงินระหว่างประเทศโดยร่วมมือกับ Maybank สถาบันการเงินจากมาเลเซีย โดยพุ่งเป้าไปที่การโอนเงินกลับประเทศของแรงงานข้ามชาติ

ข่าวอื่นที่เกี่ยวข้อง : บิทคอยน์-ลิบรา-หยวนดิจิทัล ใครจะได้ปกครองระบบการเงินโลกใหม่

Leave a comment

เกี่ยวกับ NewsFirstLine

สื่อชั้นนำด้านบล็อกเชนและคริปโตในภูมิภาคเอเชีย นำเสนอข่าวสารด้านเทคโนโลยีและการลงทุนในสกุลเงินดิจิทัลอย่างรอบด้านและเจาะลึก ครอบคลุมทั้งภูมิภาคเอเชียเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะสิงคโปร์และประเทศไทย

สมัครรับข่าวสารจาก SCN