fbpx
Skip to content Skip to sidebar Skip to footer

ดอกเบี้ยนโยบายที่ติดลบจะช่วยดึงดูดให้นักลงทุนสถาบันหันมาสนใจบิทคอยน์มากขึ้น

Stack Funds บริษัทวิเคราะห์ด้านการลงทุนได้เปิดเผยรายงานว่า การที่อัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯกำลังจะติดลบนั้นถือเป็นโอกาสสำคัญของ บิทคอยน์ และจะผลักดันให้นักลงทุนระดับสถาบันให้เสาะหาสินทรัพย์ทางเลือกใหม่ ๆ ที่มีความมั่นคงกว่า เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยนโยบายติดลบนั้นบ่งบอกถึงภาวะเศรษฐกิจที่อ่อนแอ

โดยบอกเบี้ยนโยบายที่กล่าวถึงในรายงานฉนับนี้หมายถึง Federal Funds Rate ซึ่งเป็นเรตดอกเบี้ยระยะสั้นสำหรับการกู้ยืมระหว่างธนาคารพาณิชย์ต่าง ๆ

ที่มา: Federal Reserve Bank of New York

ส่วนหนึ่งของรายงานระบุไว้ว่า “ตามทฤษฎีแล้ว การที่จะเกิดอัตราดอกเบี้ยติดลบนั้นหมายถึงธนาคารกลางต้องการที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจที่กำลังอ่อนแอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาที่เกิดภาวะเงินฝืดขั้นรุนแรง ประชาชนและภาคธุรกิจต่างเก็บเงินสดไว้กับตัวแทนที่จะเอาออกมาใช้จ่าย การใช้อัตราดอกเบี้ยติดลบจะกระตุ้นให้ประชาชนและภาคธุรกิจนำเงินออกมาใช้มากขึ้นแทนที่จะเก็บไว้ในธนาคาร”

นอกจากนี้ หากดอกเบี้ยติดลบจะทำให้งานของผู้จัดการกองทุนทำได้ยากขึ้นเนื่องจากผลตอบแทนของสินทรัพย์ดั้งเดิมต่าง ๆ จะต่ำลง ซึ่งจะเป็นตัวกระตุ้นให้เหล่าผู้จัดการกองทุนต้องแสวงหาสินทรัพย์ทางลงทุนทางเลือกที่สามารถต้านทานต่อภาวะเศรษฐกิจที่ย่ำแย่และยังสามารถให้ผลตอบแทนที่น่าสนใจได้อยู่

เร็ว ๆ นี้เราเริ่มได้เห็นนักลงทุนสถาบันให้ความสนใจใน บิทคอยน์ มากขึ้น อย่างเช่นการที่นาย Paul Tudor Jones ผู้จัดการกองทุนเฮดจ์ฟันด์ชื่อดังที่เพิ่งออกมาประกาศว่าได้แบ่งพอร์ตฟอลิโอมาลงทุนในบิทคอยน์เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้อ

“มันไม่สมเหตุสมผลเลยว่าทำไมผู้จัดการกองทุนถึงจะไม่ลองพิจารณาการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลเพื่อเป็นการค้ำประกันความเสี่ยงจากสภาวะเศรษฐกิจที่ค่อนข้างจะโอนเอน โดยเฉพาะเมื่อบิทคอยน์เป็นสินทรัพย์ที่เกิดมาจากวิกฤตเศรษฐกิจ และในครั้งนี้มันจะสามารถพิสูจน์ตัวเองให้โลกได้เห็นอย่างแน่นอน”

ข่าวอื่นที่เกี่ยวข้อง : รูปแบบของผลตอบแทนจากสินทรัพย์ดิจิทัลนั้นมีอะไรบ้าง?

แหล่งข่าว: Source

Leave a comment

เกี่ยวกับ NewsFirstLine

สื่อชั้นนำด้านบล็อกเชนและคริปโตในภูมิภาคเอเชีย นำเสนอข่าวสารด้านเทคโนโลยีและการลงทุนในสกุลเงินดิจิทัลอย่างรอบด้านและเจาะลึก ครอบคลุมทั้งภูมิภาคเอเชียเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะสิงคโปร์และประเทศไทย

สมัครรับข่าวสารจาก SCN