fbpx
Skip to content Skip to footer

DeFi นวัตกรรมเปลี่ยนโลกการลงทุน

Defi Protocols

ในวันนี้ทุกคนทราบดีว่าโลกมีการพัฒนา และเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เทคโนโลยีได้นำพาเราเข้าสู่ยุคดิจิทัล จึงปฏิเสธไม่ได้เลยว่าวันนี้เทคโนโลยีมีบทบาทในชีวิตประจำวันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เราจึงต้องทำความเข้าใจกับเทคโนโลยีใหม่ที่เกิดขึ้น เพราะโอกาสจะมารออยู่หน้าบ้านสำหรับคนที่พร้อม และเร็วกว่าคนอื่นเสมอ

นายพลากร ยอดชมญาณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซาโตชิ จำกัด ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มทางการเงินรูปแบบใหม่ ภายใต้ชื่อแบรนด์ว่า “KULAP” (คูแลป) จะมาชวนคุย หนึ่งในเทรนเทคโนโลยีที่ร้อนแรงที่สุดในปีนี้ ที่ไม่พูดถึงไม่ได้เลยคือDeFi (ดีไฟน์)

DeFi หรือ Decentralized Finance คือ ระบบการเงินรูปแบบใหม่ที่ใช้สินทรัพย์ดิจิทัลบนเครือข่ายแบบกระจายศูนย์ ซึ่งแก้ปัญหาเรื่องความรวดเร็ว และต้นทุนในการดำเนินงานจากระบบการเงินเดิม ถ้าเทียบอายุกับคนแล้ว อุตสาหกรรมของระบบการเงินรูปแบบใหม่นี้ก็ยังเป็นเพียงแค่เด็กเล็กอายุ 2 ขวบเท่านั้น แต่มูลค่าตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลในรูปแบบของ DeFi โดยรวมไม่เล็กเลย เพราะปัจจุบันมีมูลค่าตลาดกว่า $7,000 ล้านดอลล่าร์ หรือกว่า 218,400 ล้านบาท และยังคงมีแนวโน้วเติบโตอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง

มูลค่าตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลของระบบDeFi ที่ใหญ่ขนาดนี้ เกิดจากกิจกรรมที่ไม่ต่างจากระบบการเงินเดิมเลย อาทิเช่น การกู้ยืม, การค้ำประกัน, การแลกเปลี่ยน หรือการชำระเงิน เพียงแต่เปลี่ยนรูปแบบของสินทรัพย์ ให้กลายเป็นดิจิทัลบนเครือข่ายแบบกระจายศูนย์ และด้วยความที่เป็นดิจิทัลจึงทำให้อัตราการหมุนเวียน (เปลี่ยนมือ) ของสินทรัพย์มีความเร็วมากกว่าระบบเดิมเป็นอย่างมาก 

ปัจจุบันมีสินทรัพย์ดิจิทัลในรูปแบบของ DeFi ที่เป็นสิ่งค้ำเพื่อยืนยันมูลค่าไว้ในเครื่องมือทางการเงินต่าง ๆ มากกว่า 125,000 ล้านบาท แต่ที่น่าตกใจก็คือเมื่อ 3 เดือนก่อน ยังมีสินทรัพย์ดิจิทัลที่ค้ำอยู่เพียงแค่ 30,000 ล้านบาท เรียกได้ว่านี่เป็นการเติบโตที่น่ามหัศจรรย์เป็นอย่างมาก 

เราลองมาทำความรู้จักสถาบันการเงินในรูปแบบของDeFi กัน ผมขอพูดถึงสถาบันการเงินที่ชื่อว่า “Compound” (คอมพาวด์) เป็นสถาบันการเงินรูปแบบใหม่ ที่ให้บริการกู้ยืมสินทรัพย์ดิจิทัลระหว่างบุคคลกับบุคคล ผ่านช่องทางออนไลน์ จึงไม่มีสาขา ไม่มีหน้าเคาน์เตอร์ คอยบริการลูกค้า ทำให้มีต้นทุนที่ต่ำ และสามารถให้ดอกเบี้ยเงินฝากกับลูกค้าที่สูงได้ 

สถาบันการเงินคอมพาวด์นี้ก่อตั้งโดย Robert Leshner ผู้เป็นพ่อมดสายการเงิน และ Geoffrey Hayes ผู้เชี่ยวชาญในเทคโนโลยี จึงทำให้คอมพาวด์ดูลงตัวเป็นอย่างมาก เพียงในเดือนแรกคอมพาวด์ก็มีเงินฝากในระบบ 15 ล้านบาทแล้ว ปัจจุบันสถาบันการเงินนี้มีพนักงานในบริษัทเพียง 14 คน แต่มีเงินฝากในระบบถึง 50,000 ล้านบาท ในเวลาเพียง 1 ปี 10 เดือนเท่านั้น นี่คือหนึ่งในตัวอย่างของสถาบันการเงินยุคใหม่  

ในไทยเราเองก็มีสถาบันการเงินในรูปแบบนี้เกิดขึ้นแล้ว สถาบันการเงินแห่งนี้มีชื่อว่า “KULAP” (คูแลป) ถือเป็นสถาบันการเงินในรูปแบบของ DeFi แห่งแรกที่เกิดขึ้นในประเทศไทย เป็นสถาบันการเงินรูปแบบใหม่ ที่ไม่มีสาขาเช่นกัน เราให้บริการแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัลที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลจากทางสำนักงาน ก.ล.ต. 

จุดประสงค์สำคัญของสถาบันการเงินยุคใหม่คือ Building the open financial system หรือการสร้างระบบทางการเงินแบบเปิดที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ ลองคิดเผื่อในอนาคตอีก 3 ปีข้างหน้าว่า ถ้าสินทรัพย์ประเภทต่าง ๆ เช่น หุ้น, กองทุน, พันธบัตร, ทอง, ที่ดิน, คอนโด และอีกมากมาย ถูกแปลงมูลค่าให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัลทั้งหมด ตลาดนี้จะมีมูลค่ามากขนาดไหน เราเตรียมพร้อมกับการมาของDeFi หรือยัง ผมบอกได้เลยว่านี่แค่เพิ่งเริ่มต้นเท่านั้น

บทความอื่นที่เกี่ยวข้อง : Decentralized Finance เทคโนโลยีที่จะมาแทนที่ธนาคาร?

Leave a comment

เกี่ยวกับ NewsFirstLine

สื่อชั้นนำด้านบล็อกเชนและคริปโตในภูมิภาคเอเชีย นำเสนอข่าวสารด้านเทคโนโลยีและการลงทุนในสกุลเงินดิจิทัลอย่างรอบด้านและเจาะลึก ครอบคลุมทั้งภูมิภาคเอเชียเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะสิงคโปร์และประเทศไทย

สมัครรับข่าวสารจาก SCN