fbpx
Skip to content Skip to sidebar Skip to footer

เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่าง DeFi กับธนาคารแบบดั้งเดิม

Messari

DeFi หรือ Decentralized Finance คือการทำธุรกรรมทางการเงินที่ไม่พึ่งพาตัวกลาง จึงเป็นการเข้ามาเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงานของสถาบันการเงินแบบดั้งเดิมอย่างธนาคารอย่างพลิกแผ่นดิน เรามาดูกันว่า 5 สิ่งที่แตกต่างระหว่างการเงินรุปแบบใหม่และแบบเก่ามีความแตกต่างกันอย่างไร

ธนาคารคือผู้ควบคุมทั้งหมดแต่ DeFi ไม่มีผู้ควบคุม

ระบบการทำงานของธุรกรรมการเงินแบบดั้งเดิมจะเป็นรูปแบบการรวมศูนย์อยู่ที่สถาบันการเงินหรือธนาคาร เมื่อเวลาที่ธนาคารมีปัญหาในการให้บริการไม่ว่าจะเป็นระบบไอทีล่มหรือมีการแฮ็คเกิดขึ้น การทำธุรกรรมขอลูกค้าจะมีปัญหาทั้งหมด

แต่ใน Decentralized Finance แม้จะมี Protocol ที่ทำหน้าที่เป็นแพลตฟอร์มให้บริการเหมือนธนาคาร แต่ไม่ได้ทำงานแบบรวมศูนย์เพราะใช้บล็อกเชนในการกระจายศูนย์ Protocol ต่างๆจึงไม่ได้มีอำนาจในการควบคุมทรัพย์สินของลูกค้าที่อยู่ในระบบแต่อย่างไร

นายธนาคารคือผู้ตัดสินใจในการทำธุรกรรมแต่DeFiใช้ Smart Contract

การตัดสินใจต่างๆของการทำธุรกรรมการเงิน เช่นตัดสินใจปล่อยกู้ การคิดดอกเบี้ย ล้วนแล้วแต่เกิดจากการตัดสินใจของนายธนาคาร แม้ปัจจุบันจะมีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการร่วมตัดสินใจ แต่การตัดสินใจสุดท้ายยังคงเป็นมนุษย์อยู่ดี

โลกของ Decentralized Finance จะใช้เทคโนโลยี Smart Contract ในการทำงานแทนมนุษย์ จึงไม่มีประเด็นเรื่องของการ Bias หรือตัดสินใจผิดพลาด รวมถึงการตัดสินใจจะเกิดขึ้นแบบ P2P หรือระหว่างผู้ใช้งานสองฝั่งเป็นผู้ตัดสินใจกันเองว่าจะปล่อยกู้ให้หรือไม่ด้วยดอกเบี้ยเท่าไร และหากมีการผิดนัดชำระหนี้ระบบจะทำการยึดสินทรัพย์ดิจิทัลคืนเองแบบอัตโนมัติ

แหล่งเงินทุนของธนาคารคือเงินฝากแต่เงินทุนของ DeFi คือสกุลเงินดิจิทัล

เงินฝากทั้งออมทรัพย์และฝากประจำ ตั๋วสัญญาใช้เงิน สลากออมทรัพย์ เงินลงทุน ทั้งหมดนี้คือแหล่งเงินทุนของธนาคารที่ประชาชนทั่วไปนำไปฝากเพื่อรับผลตอบแทนก็คือดอกเบี้ยและหลังจากนั้นธนาคารจะนำเงินส่วนนั้นไปใช้เป็นแหล่งเงินทุนเพื่อนำไปใช้ปล่อยกู้ต่อไปไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือภาคธุรกิจ

แต่ในโลกของ Decentralized Finance จะใช้สินทรัพย์ดิจิทัลเป็นแหล่งเงินทุนไม่ว่าจะเป็น Ethereum หรือ Stablecoin อย่างเช่น DAI 

ธนาคารแต่ะละแห่งทำงานแยกกันแต่DeFiเป็นหนึ่งเดียว

แม้ว่าจะมีหน่วยงานกลางที่ทำหน้าที่เชื่อมโยงธนาคารพาณิชย์แต่ละแห่งเข้าด้วยกันไม่ว่าจะเป็นธนาคารกลางของแต่ละชาติ หรือธนาคารรับชำระเงินกลาง (Settlement) แต่การทำธุรกรรมระหว่างธนาคารในปัจจุบันไม่ได้เกิดขึ้นง่ายนัก นอกจากมีต้นทุนค่าธรรมเนียมทั้งโดยตรงและทางอ้อมที่สูงแล้ว ธนาคารพาณิชย์ในแต่ละแห่งก็มีนโยบายที่แตกต่างกันอีกด้วย

แต่ในโลกของ Decentralized Finance ที่ทำงานบนบล็อกเชน แต่ละ Protocol สามารถที่จะทำงานร่วมกันได้หากอยู่บนบล็อกเชนเดียวกันเช่น Ethereum เช่นการเกิดบริการประเภทผู้รวบรวมข้อมูล (Aggregators) ที่จะรวบรวมการทำงานของแต่ละ Protocol มาให้ผู้ใช้งานได้ใช้อย่าสะดวกรวมถึงการโอนสินทรัพย์ดิจิทัลระหว่างกันได้โดยสะดวกผ่านบล็อกเชน

ธนาคารสามารถยุ่งกับทรัพย์สินของเราได้โดยไม่บอกเราแต่DeFiจะไม่ยุ่ง

แม้ว่าลูกค้าของธนาคารจะเป็นเจ้าของบัญชีเงินฝากของตัวเองที่สามารถถอนเงินออกมาเมื่อไรก็ได้ แต่ในความเป็นจริงธนาคารมีสิทธิที่จะเข้ามายุ่งกับเงินของเราได้เสมอโดยที่เราไม่รู้ตัว 

ในอดีตที่ผ่านมาสถาบันการเงินนำเงินฝากของประชาชนไปใช้ผิดวิธีมากมาย ตั้งแต่การปล่อยกู้โดยไม่พิจารณาอย่างรอบคอบหรือทุจริตหรือลงทุนในตราสารที่เสี่ยงสูงจนทำให้สถาบันการเงินต้องล้มละลายมาแล้ว

จะว่าไปแล้วในทางปฎิบัติเงินในบัญชีธนาคารไม่ได้เป็น “ทรัพย์สิน” ของลูกค้าเองด้วยซ้ำเป็นเพียงแค่เครดิตที่ธนาคารปล่อยให้ลูกค้าสามารถนำไปใช้ได้ 

หากเงินในบัญชีธนาคารเป็นของลูกค้าทั้งหมดจริง ทำไมสถาบันการเงินที่คุ้มครองเงินฝากของประชาชนจึงไม่ได้คุ้มครองเงินทั้งหมดที่ฝากอยู่ อย่างเช่น ประเทศไทยคุ้มครองเพียงแค่ 1 ล้านบาทต่อคนต่อบัญชีเท่านั้น 

ส่วนผู้ใช้งานใน Decentralized Finance จะเป็นผู้ดูแลทรัพย์สินของตัวเองอย่างแท้จริงเพราะเป็นเจ้าของ Wallet ของตัวเองเวลาที่นำมาเชื่อมต่อกับ Protocol เพื่อใช้บริการจึงมีอำนาจตัดสินใจทั้งหมดในทรัพย์สินนั้น

Leave a comment

เกี่ยวกับ NewsFirstLine

สื่อชั้นนำด้านบล็อกเชนและคริปโตในภูมิภาคเอเชีย นำเสนอข่าวสารด้านเทคโนโลยีและการลงทุนในสกุลเงินดิจิทัลอย่างรอบด้านและเจาะลึก ครอบคลุมทั้งภูมิภาคเอเชียเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะสิงคโปร์และประเทศไทย

สมัครรับข่าวสารจาก SCN