fbpx
Skip to content Skip to sidebar Skip to footer

ค่าความยากในการขุด Bitcoin ร่วงแรงหลังนักขุดยอมแพ้ นี่ถือเป็นสัญญาณบวกครั้งใหม่?!

ค่าความยากในการขุด Bitcoin (BTC) หรือที่เรียกว่า Miner Difficulty (ค่า Diff) ร่วงลงอย่างรุนแรงเป็นครั้งแรกในรอบเกือบสิบปี หลังเน็ตเวิร์กของ Bitcoin จัดการปรับสมดุลตัวเองให้เหมาะสมกับปริมาณการใช้งานและการแข่งขันของนักขุด

ข้อมูลจากเว็บไซต์ Bitcoin.com ชี้ว่า ค่า Diff ได้ปรับตัวลดลงถึง 16% เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน ทำให้การปรับตัวลงในครั้งนี้เป็นการปรับค่า Diff ที่มากที่สุดในประวัติศาสตร์ของ Bitcoin เป็นอันดับสอง รองแต่เพียงเมื่อเดือนตุลาคมปี 2011 เท่านั้นที่ปรับตัวลดลงถึง 18%

โดยค่า Diff นี้จะมีการปรับขึ้นลงทุก ๆ 2016 บล็อก หรือประมาณทุก ๆ สองสัปดาห์ เพื่อไม่ให้มีบล็อกเกิดใหม่เกิดขึ้นมาช้าหรือเร็วจนเกินไป โดยค่าเฉลี่ยควรจะอยู่ที่ 10 นาทีต่อหนึ่งบล็อก

การปรับค่า Diff ในครั้งนี้จะส่งผลให้ Bitcoin มีค่าธรรมเนียมที่ถูกลงเนื่องจากนักขุดสามารถสร้างบล็อกถัดไปได้เร็วขึ้นและลดความหนาแน่นของธุรกรรมที่รอการคอนเฟิร์มใน Mempool อีกด้วย

อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์ราคาคริปโต The Moon ได้ชี้ว่า Bitcoin เข้าสู่ช่วง Miner Capitulation หรือการยอมแพ้ของเหล่านักขุด เมื่อการขุด Bitcoin ไม่มีกำไรอีกต่อไปและบังคับให้พวกเขาต้องถอดปลั๊ก ซึ่งก่อนหน้านี้สามารถใช้เป็นสัญญาณในการเข้าซื้อได้เป็นอย่างดีเพราะช่วงเวลาหลังจากเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ประมาณ 2 สัปดาห์มักจะมีการปรับตัวขึ้นของราคาตามมาเสมอ

เหตุผลหนึ่งที่ใช้อธิบายการเคลื่อนไหวของราคากับเหล่านักขุดก็คือ ในปัจจุบันนี้ เหล่านักขุดเป็นผู้ขาย Bitcoin รายใหญ่ที่สุดในตลาด เพราะพวกเขาต้องขาย Bitcoin เป็นเงินสดเพื่อนำไปจ่ายค่าไฟ ค่าอุปกรณ์ และค่าแรงงาน เมื่อนักขุดไม่มีกำไร พวกเขาจำใจต้องขาย Bitcoin ที่ได้มาทั้งหมดมาเพื่อชดเชยต้นทุนที่เสียไป และเมื่อนักขุดที่ไม่มีประสิทธิภาพเหล่านั้นได้ออกจากตลาดไป ย่อมส่งผลให้แรงเทขายลดลงและราคาของ Bitcoin พุ่งขึ้นเป็นเงาตามตัว

ข่าวอื่นที่เกี่ยวข้อง: Hash Rate ของ Bitcoin พุ่งขึ้นทำจุดสูงสุดตลอดกาลอีกครั้ง เตรียมรับ Halving

Leave a comment

เกี่ยวกับ NewsFirstLine

สื่อชั้นนำด้านบล็อกเชนและคริปโตในภูมิภาคเอเชีย นำเสนอข่าวสารด้านเทคโนโลยีและการลงทุนในสกุลเงินดิจิทัลอย่างรอบด้านและเจาะลึก ครอบคลุมทั้งภูมิภาคเอเชียเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะสิงคโปร์และประเทศไทย

สมัครรับข่าวสารจาก SCN