fbpx
Skip to content Skip to footer

เกาหลีใต้เลื่อนแผนเก็บภาษีคริปโตไปเป็นปี 2023

เกาหลีใต้ ตัดสินใจเลื่อนแผนเก็บภาษีคริปโตตามกฎหมายฉบับใหม่ออกไปโดยให้มีผลบังคับใช้ในปี 2023 แทน

ทั้งนี้ รัฐบาล เกาหลีใต้ และเจ้าหน้าที่ด้านการเงินของประเทศได้พิจาณาจัดเก็บภาษีธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับคริปโตภายในปี 2021 อย่างไรก็ตามรายงานจากสื่อท้องถิ่น AsiaToday ระบุว่า กระทรวงเศรษฐกิจและการเงินของเกาหลีใต้ได้ออกมายืนยันเมื่อวันที่ 6 มกราคมว่า กฎหมายภาษีฉบับใหม่ที่มีการปรับปรุงกฎระเบียบการจัดเก็บภาษีคริปโตจะมีผลบังคับใช้ในปี 2023 แทน

รายงานระบุว่า บรรรดาเทรดเดอร์หรือบริษัทใดๆ ก็ตามที่ได้ผลกำไรจากการซื้อขายคริปโตมากกว่า 50 ล้านวอน จะต้องเสียภาษีในอัตรา 20% ขณะที่หามีผลกำไรมากกว่า 300 ล้านวอนต้องเสียภาษีทีอัตรา 25% ซึ่งการเปลี่ยนแปลงอัตราการจัดเก็บภาษีนี้จะประกาศอย่างเป็นทางการในเดือนหน้า หลังเสร็จสิ้นการหารือและได้รับการรับรองจากสภา โดยแต่เดิมการจัดเก็บภาษีดังกล่าวจะมีผลในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้

ที่ผ่านมา รัฐบาลเกาหลีใต้ค่อนข้างให้ความระมัดระวังในการออกแบบและประยุกต์ใช้ระบบจัดเก็บภาษีที่ชัดเจน เนื่องจาก นักวิเคราะห์ส่วนหนึ่งได้ออกมาแสดงความกังวลเกี่ยวกับการด่วนตัดสินใจของเจ้าหน้าที่ซึ่งอาจจะนำไปสู่การหาทางหลีกเลี่ยงการจ่ายภาษีหรือการต่อต้านใดๆ จากประชาชนหรือ บริษัท ต่างๆได้

ขณะที่ก่อนหน้านี้มีรายงานว่า รัฐบาลเกาหลีใต้กำลังวางแผนที่จะจัดประเภทผลกำไรจากกิจกรรมการระดมทุนเช่น Initial Coin Offerings (ICOs) และการขุด cryptocurrency ภายใต้ขอบเขตภาษีเดียวกันนอกเหนือจากการทำธุรกรรมระหว่างผู้ค้าหรือ บริษัทแต่ละรายด้วย โดยเป็นผลจากการที่ Bithumb แพล็ตฟอร์มซื้อขายคริปโตที่ใหญ่ที่สุดของเกาหลีใต้ตกเป็นจำเลยโดนฟ้องฐานไม่ยอมจ่ายภาษี อย่างไรก็ตาม เป็นที่รู้กันดีว่า ก่อนปี 2019 เกาหลีใต้ไม่มีกฎหมายกำหนดเกี่ยวกับการทำธุรกรรมและอุตสาหกรรกรรมคริปโตโดยรวม

ทั้งนี้ หลายฝ่ายมองว่า การยืนกรานแก้ไขกฎหมายภาษีในส่วนหนี้จะมีส่วนช่วยยุติปัญหาข้อพิพาทในทำนองเดียวกันกับกรณีข้างต้นในอนาคตได้

SOURCE
https://www.NewsFirstLine.com/south-korea-delays-implementation-of-new-crypto-tax-regulations-to-2023/

Leave a comment

เกี่ยวกับ NewsFirstLine

สื่อชั้นนำด้านบล็อกเชนและคริปโตในภูมิภาคเอเชีย นำเสนอข่าวสารด้านเทคโนโลยีและการลงทุนในสกุลเงินดิจิทัลอย่างรอบด้านและเจาะลึก ครอบคลุมทั้งภูมิภาคเอเชียเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะสิงคโปร์และประเทศไทย

สมัครรับข่าวสารจาก SCN