fbpx
Skip to content Skip to sidebar Skip to footer

ปี 2020 สุดปังสำหรับคริปโตและบริษัทเทคโนโลยี ขณะที่ธนาคารร่วงยาว

ปี 2020 นี้อาจไม่ใช่ปีที่ดีในความทรงจำของใครหลายคนนัก ไม่ว่าจะเป็นวิกฤตไฟป่าออสเตรเลียหรือความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯและอิหร่านตั้งแต่ต้นปี มาจนถึงวิกฤตโควิด-19ที่ทำให้โลกต้องหยุดชะงัก

อย่างไรก็ตาม เมื่อปีนี้ดำเนินมาถึงช่วงโค้งสุดท้าย อะไร ๆ ก็ดูจะกระจ่างขึ้น เมื่อภาคธุรกิจและการลงทุนได้แสดงความแข็งแกร่งและอ่อนแอสะท้อนออกมาผ่านทางราคา โดยนักวิเคราะห์ของ Bloomberg ได้เผยถึงผลตอบแทนของอุตสาหกรรมสุดปังอย่างคริปโตเคอเรนซี่และบริษัทเทคโนโลยี ขณะที่กลุ่มธนาคารยังคงย่อยยับและไม่สามารถฟื้นตัวได้ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2020 นี้

ผลตอบแทนนับตั้งแต่ต้นปี (YTD) ของคริปโตเคอเรนซี่อันดับสองของโลกอย่าง Ethereum นั้นทำได้ดีอย่างไม่น่าเชื่อ ราคาขึ้นมาถึง 200% ในช่วงเวลาเพียงสิบเดือนเท่านั้น ตามมาด้วยหุ้นเทคโนโลยีของ Jack Dorsey อย่าง Sqaure ที่พึ่งทำการซื้อ Bitcoin มูลค่ากว่า 50 ล้านดอลลาร์ก็ได้รับเสียงตอบรับที่ดีจากนักลงทุนทำให้ราคาบวกไป 186% YTD

PayPal ยักษ์ใหญ่วงการเพย์เมนท์ที่พึ่งเปิดรองรับการซื้อและเก็บคริปโตเคอเรนซี่ไปก็ไม่น้อยหน้า ให้ผลตอบแทน YTD ถึง 99% ตามมาด้วยราชาแห่งคริปโตเคอเรนซี่อย่าง Bitcoin ที่ 79%

ขณะที่บริษัทที่มีพื้นฐานจากการเงินแบบเก่าดูเหมือนจะทำผลงานได้ไม่เข้าตาซักเท่าไหร่นัก ผู้ให้บริการบัตรเครดิตอย่าง MasterCard, Visa และ American Express ให้ผลตอบแทน 12%, 6% และ -18% ตามลำดับ ส่วนธนาคารแม้จะฟื้นขึ้นมาจากช่วงเดือนมีนาคมแล้วแต่ก็ยังเจ็บหนักอยู่โดย Wells Fargo รั้งท้าย ติดลบไปถึง 58% และ Citigroup ก็ไม่ได้ดีกว่ากันเท่าไหร่ ให้ผลตอบแทนติดลบ 46%

เมื่อถอยมามองในภาพใหญ่เช่นนี้ คำสบประมาทที่ว่าคริปโตเคอเรนซี่นั้นมีความผันผวนสูงและไม่น่าลงทุนดูเหมือนจะไม่เป็นจริงเท่าไหร่นัก เพราะการลงทุนย่อมเป็นเรื่องของการมองอนาคต บริษัทที่ทำผลงานได้ดีในอดีตไม่จำเป็นต้องทำผลงานได้ดีในอนาคต แต่มันขึ้นอยู่กับว่าเทรนด์ของโลกในอนาคตจะเป็นอย่างไร และใครสามารถคว้ามันไว้ได้ก่อนต่างหาก

ข่าวอื่นที่เกี่ยวข้อง: บิทคอยน์ พุ่งทำราคาสูงสุดตลอดกาลครั้งใหม่ไปแล้วใน 7 ประเทศนี้

Leave a comment

เกี่ยวกับ NewsFirstLine

สื่อชั้นนำด้านบล็อกเชนและคริปโตในภูมิภาคเอเชีย นำเสนอข่าวสารด้านเทคโนโลยีและการลงทุนในสกุลเงินดิจิทัลอย่างรอบด้านและเจาะลึก ครอบคลุมทั้งภูมิภาคเอเชียเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะสิงคโปร์และประเทศไทย

สมัครรับข่าวสารจาก SCN