fbpx
Skip to content Skip to sidebar Skip to footer

สรุปภาพรวมเศรษฐกิจทั่วโลกที่น่าจับตามองในสัปดาห์นี้ (5 – 11 ตุลาคม)

คนงานทั่วโลกกำลังรวมตัวกันในวิกฤตที่มืดมนเพื่อตำแหน่งงานของพวกเขา ขณะที่องค์การแรงงานระหว่างประเทศกล่าวว่า COVID-19 ทำให้มีการสูญเสียชั่วโมงการทำงานในไตรมาสที่ 2 เทียบเท่ากับเกือบ 500 ล้านตำแหน่งงานทั่วโลก และจะมีการสูญเสียซึ่งเทียบเท่ากับอีกประมาณ 245 ล้านตำแหน่งงานเต็มเวลาทั่วโลกในช่วง 3 เดือนสุดท้ายของปี 2020

เศรษฐกิจโลกกำลังเข้าสู่ไตรมาสสุดท้ายของปีที่เลวร้ายที่สุดในความทรงจำของผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ในยุคนี้ ท่ามกลางภาวะที่เสี่ยงว่าการแพร่ระบาดของ COVID-19 จะกลายเป็นภัยคุกคามตลาดแรงงานให้ย่อยยับมากขึ้น

แนวโน้มที่มืดมนสำหรับการจ้างงานในสหรัฐฯ รวมถึงการหยุดชะงักของสหราชอาณาจักร และการสิ้นสุดของการเลื่อนการชำระหนี้สำหรับการล้มละลายของเยอรมันที่กำลังจะเกิดขึ้น ทำให้เกิดสัญญาณของปัญหาในร้านค้าต่าง ๆ

ขณะเดียวกัน องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (The International Labour Organisation : ILO) คาดการณ์ว่าร็ว ๆ นี้โลกจะสูญเสียชั่วโมงการทำงาน (หรือจ้างงาน) เทียบเท่ากับ 245 ล้านตำแหน่งงานเต็มเวลาในช่วงสามเดือนสุดท้ายของปี 2020 ส่วนในไตรมาสที่ 2 ที่ผ่านมา ชั่วโมงการทำงานลดลง 17% เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2019 ซึ่งเทียบเท่ากับงานเกือบ 500 ล้านตำแหน่ง

ไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ เริ่มต้นด้วยข่าวร้ายของนายจ้างระดับ Blue-Chip* นับตั้งแต่ Walt Disney Co. ไปจนถึง Royal Dutch Shell Plc และ Continental AG ที่ได้ประกาศลดพนักงานหลาย 10,000 คนภายในระยะเวลา 24 ชั่วโมงติดต่อกัน จากนั้นในวันศุกร์ที่ผ่านมา กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ ได้เปิดเผยงานที่เพิ่มขึ้นของการจ้างงานที่ชะลอตัวลงอย่างมากในเดือนกันยายน ขณะที่ชาวอเมริกันจำนวนมากละทิ้งการหางานทำ

*Blue-Chip หมายถึงบริษัทที่มีฐานะทางการเงินดี และมีความน่าเชื่อถือ

นอกเหนือจากลางบอกเหตุเหล่านี้แล้ว โปรแกรมสนับสนุนการจ้างงานหลักของอังกฤษก็จะสิ้นสุดลงในปลายเดือนนี้ โดยนักเศรษฐศาสตร์ของ Goldman Sachs คาดว่าการตัดสินใจอาจให้คนอีก 2.2 ล้านคนต้องกลายเป็นผู้ว่างงาน และแม้แต่ในขณะที่โปรแกรมสนับสนุนยังมีอยู่ แต่ก็พบว่าอัตราว่างงานของอังกฤษก็ยังคงพุ่งสูงขึ้น

กลุ่มผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องได้เน้นย้ำถึงความเปราะบางของเศรษฐกิจที่ถูกทำลายไปแล้วและโอกาสในการเกิดความเสียหายเพิ่มเติม ซึ่งอาจกระทบต่อการดำรงชีวิตอย่างรุนแรงที่สุดในภายภาคหน้า การระบาดครั้งล่าสุดในกรุงปารีสอาจบังคับให้บาร์และร้านอาหารต้องปิดตัวลงอีกครั้ง ขณะที่สถานการณ์ในกรุงลอนดอนกำลังอยู่ใน Tipping Point* ตามที่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขท้องถิ่นระบุ

*Tipping Point หมายถึงการเปลี่ยนแปลงหรือเหตุการณ์เล็ก ๆ น้อย ๆ ที่มีความสำคัญมากพอที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ใหญ่กว่าและสำคัญกว่าในอนาคต

Tom Orlik หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของ Bloomberg กล่าวว่า

“การติดเชื้อในระลอกที่ 2 รวมถึงการเลิกจ้างขององค์กรครั้งใหญ่ในสหรัฐฯ และการสิ้นสุดของโครงการสนับสนุนในสหราชอาณาจักร จะทำให้การว่างงานมีความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นในช่วงสิ้นปีนี้ ส่วนข่าวร้ายสำหรับแนวโน้มที่เกิดขึ้นในปัจจุบันยังถือเป็นข่าวร้ายในแนวโน้มระยะกลางอีกด้วย โดยมีรอยแผลเป็นจากตลาดแรงงานที่ลึกขึ้น ซึ่งแน่นอนว่าจะคุกคามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจแม้ว่าในที่สุดจะมีวัคซีน COVID-19 ก็ตาม”

สหรัฐอเมริกาและแคนาดา

ในวันพุธที่จะถึงนี้ FED จะเปิดเผยรายงานการประชุมในวันที่ 15-16 กันยายนของ คณะกรรมาธิการตลาดเสรีกลาง (Federal Open Market Committee : FOMC) ซึ่งอาจเป็นผลดีอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่กำลังจับตามอง FED อยู่ โดยจะเริ่มจากรายละเอียดของการอภิปรายแนวทางใหม่ของคณะกรรมการเกี่ยวกับเงื่อนไขที่จำเป็นในการกระตุ้นให้มีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยในอนาคต

การเปิดเผยครั้งนี้ อาจมีการแสดงให้เห็นว่าผู้กำหนดนโยบายทางการเงินได้ตัดสินใจเพิ่มการเข้าซื้อสินทรัพย์ทางการเงินภายในประเทศและจำกัดการจ่ายเงินปันผลของธนาคารพาณิชย์อย่างต่อเนื่อง

นอกจากนี้ ยังอาจมีการบรรยายสรุปที่แยกออกไปต่างหากของคณะกรรมธิการแต่ละคนสำหรับประเด็นก่อนหน้านี้ที่มีการลงคะแนนเสียงพิเศษในวันที่ 27 สิงหาคมที่ผ่านมาเกี่ยวกับกรอบนโยบายใหม่ซึ่ง FED จะอนุญาตให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นกว่า 2% ชั่วคราวและการว่างงานจะต้องต่ำกว่าที่เจ้าหน้าที่เคยยอมรับในก่อนหน้านี้

ในแง่ของข้อมูลทางเศรษฐกิจ Traders ทั่วโลกจะเฝ้าดูรายงานล่าสุดเกี่ยวกับการค้าและจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานเพิ่มเติมรายสัปดาห์

ส่วนในแคนาดา Tiff Macklem ผู้ว่าการ Bank of Canada มีกำหนดจะแถลงการณ์ในวันพฤหัสบดีที่จะถึงนี้ และรายงานของตลาดแรงงานในเดือนกันยายนจะเปิดเผยในวันศุกร์

เอเชีย

จีนกำลังอยู่ในช่วงวันหยุดยาวประจำปี (Golden Week) ดังนั้นความสนใจจึงเปลี่ยนไปยังส่วนอื่น ๆ ของภูมิภาค และมันเป็นสัปดาห์ที่วุ่นวายในออสเตรเลียสำหรับการที่ธนาคารกลางจะประกาศการตัดสินใจเรื่องอัตราดอกเบี้ยในวันอังคารนี้

หลายชั่วโมงก่อนที่รัฐบาลจะเปิดตัวแผนงบประมาณ รัฐบาลของนายกรัฐมนตรี Scott Morrison มีแนวโน้มที่จะกระตุ้นทางการคลังเพิ่มเติม รวมถึงการใช้จ่ายด้านโครงสร้างพื้นฐานและการลดภาษีเพื่อดึงเศรษฐกิจออกจากภาวะถดถอยครั้งแรกในรอบเกือบ 30 ปี

สำหรับประเทศญี่ปุ่น Haruhiko Kuroda ผู้ว่าการ Bank of Japan (BOJ) จะแถลงการณ์ในงานต่าง ๆ ภายในสัปดาห์ที่จะถึงนี้ โดยคำพูดของเขาจะเกี่ยวกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ขณะที่แนวโน้มของราคาจะถูกจับตาดูอย่างใกล้ชิดเพื่อดูว่ามีสัญญาณที่น่ากังวลน้อยลงหรือไม่

นอกจากนี้ BOJ จะเตรียมการประชุมในปลายเดือนนี้ ขณะที่ข้อมูลการจ้างงาน ระดับค่าจ้าง และการใช้จ่ายในภาคครัวเรือน จะเป็นตัวบ่งชี้ล่าสุดว่าเศรษฐกิจฟื้นตัวอย่างไรหลังจากเกิดสัญญาณที่ไม่แน่นอนเมื่อเร็ว ๆ นี้

ยุโรป ตะวันออกกลาง และแอฟริกา

สำหรับผู้กำหนดนโยบายของ European Central Bank (ECB) รวมถึงประธานอย่าง Christine Lagarde และหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ Philip Lane ในสัปดาห์นี้จะมีโอกาสเสนอแนวทางว่าข้อมูลเงินเฟ้อล่าสุดที่ออกมาอย่างน่าผิดหวังนั้นเพียงพอหรือไม่ที่จะทำให้ ECB ก้าวไปสู่การกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม ขณะที่รายงานการประชุมเดือนกันยายนของ ECB จะเผยแพร่ในวันพฤหัสบดีนี้

สำหรับสหราชอาณาจักร นักลงทุนจะได้รับฟังคำพูดของเจ้าหน้าที่ Bank of England (BOE) อย่างใกล้ชิดสำหรับสัญญาณของมุมมองที่แตกต่างกันเกี่ยวกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและการใช้อัตราดอกเบี้ยในระดับติดลบที่อาจเกิดขึ้น ขณะที่ตัวเลข GDP รายเดือนจะเปิดเผยในวันศุกร์

ในนอร์ดิกส์ Oystein Olsen หัวหน้าธนาคารกลางของนอร์เวย์จะแถลงการณ์หลังจากสภาพตลาดที่น่าประหลาดใจเมื่อเดือนที่แล้ว พร้อมคำแนะนำล่วงหน้าที่ดีกว่าที่คาดการณ์ไว้ หลังจากนั้นในสัปดาห์เดียวกัน นอร์เวย์จะเผยแพร่ข้อมูล GDP สำหรับเดือนสิงหาคม

ธนาคารกลางใน โปแลนด์ เซอร์เบีย และยูกันดา คาดว่าจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้เท่าเดิม ในขณะที่บอตสวานาอาจมีช่องว่างให้ปรับลดลง

ละตินอเมริกา

การเปิดเผยค่าความเชื่อมั่นของผู้บริโภค (consumer confidence) ของประเทศเม็กซิโกในวันจันทร์นี้ อาจแสดงให้เห็นถึงการปรับปรุงที่ดีขึ้นเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน ขณะที่รายงานการประชุมเมื่อวันที่ 24 กันยายนที่ผ่านมาของผู้กำหนดนโยบายที่จะเปิดเผยในวันพฤหัสบดีนี้ อาจทำให้เดิมพันได้ว่าเม็กซิโกจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 4.25%

และในวันพุธนี้ ธนาคารกลางของประเทศเปรูจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้เป็นเดือนที่ 6 ติดต่อกันที่ 0.25% ขณะที่เศรษฐกิจเริ่มเกิดการพลิกกลับ

ส่วนข้อมูลราคาสินค้าและบริการในสัปดาห์นี้ จะแสดงให้เห็นว่าอัตราเงินเฟ้อนั้นหลุดออกมาจากจุดต่ำสุดในช่วงที่มีการระบาดในเม็กซิโก บราซิล และชิลี ขณะที่จะยังอยู่ภายใต้เป้าหมายของธนาคารกลางสำหรับประเทศโคลอมเบีย

รายงานยอดค้าปลีกของบราซิลในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาจะแสดงผลกำไรรายเดือนและรายปี พร้อมกับการสูญเสียเรื่องขับเคลื่อนบางส่วน

References :
1.https://www.bloomberg.com/news/articles/2020-10-04/workers-of-world-unite-in-crisis-gloom-for-their-jobs-eco-week
2.https://www.bloomberg.com/news/articles/2020-09-24/sunak-announces-winter-crisis-plan-to-save-u-k-jobs-from-virus
3.https://www.bloomberg.com/news/articles/2020-09-24/mexico-cuts-key-rate-by-quarter-point-as-easing-cycle-nears-end
4.https://www.bloomberg.com/news/articles/2020-09-30/the-global-economic-recovery-has-slowed-from-a-bounce-to-a-grind
5.https://www.bloomberg.com/news/articles/2020-10-01/germany-faces-wave-of-insolvencies-as-government-moratorium-ends
6.https://www.bloomberg.com/news/articles/2020-09-23/virus-work-damage-tally-now-seen-at-almost-500-million-jobs

Leave a comment

เกี่ยวกับ NewsFirstLine

สื่อชั้นนำด้านบล็อกเชนและคริปโตในภูมิภาคเอเชีย นำเสนอข่าวสารด้านเทคโนโลยีและการลงทุนในสกุลเงินดิจิทัลอย่างรอบด้านและเจาะลึก ครอบคลุมทั้งภูมิภาคเอเชียเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะสิงคโปร์และประเทศไทย

สมัครรับข่าวสารจาก SCN