fbpx
Skip to content Skip to footer

กูรูคาด DeFiกุญแจสำคัญพลิกโฉมภาคการเงินภูมิภาคASEAN

Patrick Tan ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ( CEO) และ ที่ปรึกษาทั่วไปของ Novum Alpha บริษัทผู้ให้บริการแพล็ตฟอร์มเทรดดิ้งสินทรัพย์ดิจิทัลชั้นนำของสิงคโปร์ ขึ้นเวทีร่วมแสดงความคิดเห็นต่อสถานะของสินทรัพย์ดิจิทัลที่จะมีบทบาทต่อการกำหนดทิศทางอุตสาหกรรมการเงินของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN)

โดย Tan ได้ขึ้นกล่าวสุนทรพจน์เปิดเวทีการประชุม BlockBali 2020 หนึ่งในการประชุมด้านสินทรัพย์ดิจทิลที่สำคัญที่สุดของภูมิภาค ด้วยการกล่าวถึงภาพรวมของ DeFi ในอาเซียนและอิทธิพลของ DeFi ที่มีต่อการกำหนดขอบเขตอุตสาหกรรมการเงินในภูมิภาค

Tan เริ่มต้นด้วยการกล่าวถึงภารชพรวมของแวดวงดิจิทัลในอาเซียน ด้วยการหยิบยกอัตราการเข้าถึงโทรศัพท์มือถือของประชากรที่มีสัดส่วนค่อนข้างสูงคือ 133% และประชากรส่วนใหญ่เหล่านี้ยังเข้าไม่ถึงบริการทางการเงินของธนาคารและสถาบันการเงินโดยทั่วไป

โดย 80% ของประเทศที่มีประชากรหนาแน่นอย่าง อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม ต่างไม่มีบัญชีธนาคาร ตรงกันข้ามกับสิงคโปร์ที่ตัวเลขของประชากรที่ไม่มีบัญชีธนาคารมีอยู่อเพียง 2% เท่านั้น ซึ่งการที่การเข้าถึงบริการทางการเงินมีช่องว่างดังกล่าวจะส่งผลต่อการพัฒนาเศรษกิจโดยรวมของประเทศได้ ทำให้ DeFi (Decentralized Finance) เข้ามามีบทบาทในการลบเลือนช่องว่างดังกล่าว

ภายใต้การใช้smart contracts ในการสร้างบล็อกเชน Ethereum ทำให้การออกสินเชื่อโดย DeFi กลายเป็นเครืองมือที่ผู้ยื่นเรื่องขอกู้ และผู้ให้กู้ ได้มีช่องทางในการเข้าถึงกันและกัน กำหนดเงื่อนไขการกู้ยืมร่วมกัน ทั้งในแง่ของผลประโยชน์และหลักประกันเพื่อป้องกันการผิดนัดชำระหนี้

Tan กล่าวว่า ความสามารถในการการแสวงหากำไร แม้จะเป็นปริมาณน้อย ก็เพียงพอที่จะสะท้อนให้เห็นถึงก้าวสำคัญของระบบการเงินแบบองค์รวม ที่ให้ความปลอดภัยที่มากกว่า ควบคู่ไปกับการให้โอกาสประชากรที่ไม่สามารถเข้าถึงธนาคารสามารถมีส่วนร่วมกับระบบการเงิน

นอกเหนือจากประโยชน์ในด้านการปล่อยกู้แล้ว Tan ยังชี้ให็เห็นถึงประโยชน์ของ DeFi ในการจัดสรรโครงสร้างทุน จากเดิมที่การเข้าถึงผู้จัดการกองทุนและสถาบันการลงทุนชั้นนำจำกัดอยู่ในวงแคบ เฉพาะผู้ที่มีทุนหนาเท่านี้น หลายๆ บริษัทกำลังทำใหการลงทุนเป็นเรื่องที่เข้าถึงได้ไม่ยากสำหรับนักลงทุนทั่วไปผ่าน smart contracts และ DeFi

ยิ่งไปกว่านั้น การโอนเงิน (remittances) ก็เป็นอีกหนึ่งพื้นที่ที่ DeFi สามารถเข้าไปสร้างวิวัฒนาการการเปลี่ยนแปลงระบบไหลเวียนทุนในภูมิภาคอาเซียนได้ ซึ่งอาเซียนถือเป็นหนึ่งในภูมิภาคที่มีการทำธุรกรรมโอนเงินระหว่างประเทศมากที่สุด ด้วยจำนวนแรงงานข้ามชาติที่มีมากกว่า 20 ล้านคนทั่วโลก ซึ่งทำให้ธุรกรรมโอนเงินมีสัดส่วนสูงถึง 10% ของจีดีพี

Tan กล่าวว่า ภูมิภาคอาเซียนจะไม่นั่งมองโดยไม่ลงมือทำอะไรแน่นอน โดยเฉพาะเมื่อ DeFi ทำให้ เกิดสภาพคล่องทางการเงินที่ช่วยให้การโอนเงินและการทำ currency swap สะดวกมากยิ่งขึ้น

“การที่ 80% ของธนาคารกลางทั่วโลกต่างกระตือรือล้นศึกษาการออกสกุลเงินดิจิทัลกลางของตนเองอย่างจริงจัง จึงเป็นเพียงเรื่องของเวลาเท่านั้นที่ DeFi จะมีศักยภาพในการยกระดับประสิทธิภาพของการแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศและลดรอยต่อของการโอนเงินระหว่าประเทศ” CEO ของ Novum Alpha กล่าว

ขณะที่ในส่วนของกฎระเบียบ Tan ได้กล่าวถึง ประเด็นเรื่องการใช้ DeFi ในการหลีกเลี่ยงภาษีซึ่งจะให้ภาครัฐไม่พอใจได้ในระหว่างที่ชุมชนหลายแห่งทั่วโลกทั้งภาครัฐและเอกชนเดินหน้าพัฒนาโครงการ DeFi กระนั้น Tan ก็เชื่อมั่น ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือที่ใช้งานในทางดีหรือร้าย การพัฒนายกระดับ DeFi ก็เป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้

หลายประเทศในภูมิภาคอาเซียนในขณะนี้เริ่มตระหนักถึงศักยภาพของ DeFi แม้ว่าบางประเทศ เช่น เวียดนาม จะประสบปัญหาความล่าช้าในเบื้องต้นอของการใช้สกุลเงินดิจิท้ล แต่เมื่อตั้งหลักได้ ก็สามารถพัฒนาขยายตัวได้อย่างรวดเร็ว ขณะที่ สิงคโปร์ก็กำลังเร่งกระบวกการออกใบอนุญาตดิจิทัล แบงก์กิ้งให้ทันภายในปีหน้า ส่วนฟิลิปปินส์กับอินโดนีเซียก็กำลังหาทางใช้บล็อกเชนและ DeFi ในการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจของประเทศ

SOURCE https://www.NewsFirstLine.com/blockbali-2020-defining-southeast-asia-by-patrick-tan/

Leave a comment

เกี่ยวกับ NewsFirstLine

สื่อชั้นนำด้านบล็อกเชนและคริปโตในภูมิภาคเอเชีย นำเสนอข่าวสารด้านเทคโนโลยีและการลงทุนในสกุลเงินดิจิทัลอย่างรอบด้านและเจาะลึก ครอบคลุมทั้งภูมิภาคเอเชียเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะสิงคโปร์และประเทศไทย

สมัครรับข่าวสารจาก SCN