fbpx
Skip to content Skip to footer

“ชิมช้อปใช้” ถ้าจ่ายด้วย “บิทคอยน์” จะเกิดอะไรขึ้น?

โครงการชิมช้อปใช้ ถือเป็นมาตราการที่รัฐบาลนำมาใช้เพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายของประชาชนโดยการแจกเงินผ่านระบบดิจิตอลคนละ 1,000 บาท แต่ก็มีปัญหาจุกจิกมากมาย เราลองมาคิดกันเล่นๆว่าถ้าโครงการนี้จ่ายเงินให้ประชาชนด้วย “บิทคอยน์” จะเกิดอะไรขึ้น

หนึ่ง..ใช้ซื้อของได้ทั่วโลกคนที่ลงทะเบียนโครงการชิมช้อปใช้เอาไว้อาจจะรู้สึกรำคาญที่รัฐบาลกำหนดพื้นที่การใช้จ่ายซื้อของไว้เฉพาะจังหวัดและต้องลงทะเบียนล่วงหน้า แต่ถ้ามีบิทคอยน์อยู่ในมือ เราจะใช้ซื้อของที่ไหนก็ได้บนโลกที่ยอมรับไม่ว่าจะออฟไลน์หรือออนไลน์ หรือจะแปลงเป็นเงินดิจิตอลสกุลอื่นก็ได้ และสามารถนำไปใช้ต่อกับแพลตฟอร์มใดก็ได้ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่แอพเดียว

สอง..สามารถเข้าถึงคนที่ไม่มีบัญชีธนาคารได้ประเทศไทยมีอัตราการเข้าถึงบัญชีธนาคารอยู่ที่ประมาณ 80% ของจำนวนประชากรทั้งหมด แต่มีผู้ใช้สมาร์ทโฟนและอินเทอร์เนตความเร็วสูงเกือบ 100% เท่ากับว่าคนไทยอีก 20% ที่ไม่มีบัญชีธนาคารก็สามารถใช้บิทคอยน์ซื้อของได้ผ่านแอปพลิเคชั่นวอลเลทต่างๆ  (กรณีที่ใช้สิทธิใช้จ่าย 30,000 บาทแลกกับเงินคืน 20%ที่จำเป็นต้องมีบัญชีธนาคารกรุงไทย)

สาม..นำไปใช้ลงทุนได้ไม่จำเป็นต้องซื้อของอย่างเดียว เงินที่แจกในโครงการชิมช้อปใช้อาจจะนำไปใช้ซื้อของได้อย่างเดียว แต่ถ้าได้รับบิทคอยน์ เราสามารถนำเงินดิจิตอลนั้นไปใช้ลงทุนต่อได้โดยโอนเข้าไปยัง Exchange เพื่อซื้อขายหรือลงทุนในโครงการไอซีโอก็ย่อมได้

สี่..รัฐบาลไม่สามารถตรวจสอบข้อมูลของเราได้หนึ่งในข้อสงสัยที่ทำให้หลายๆคนไม่อยากเข้าร่วมโครงการนี้เนื่องจากกังวลว่ารัฐบาลจะเก็บฐานข้อมูลของเราไว้ตรวจสอบทีหลัง แต่หากมีการจ่ายด้วยบิทคอยน์ที่ทำงานบนบล็อกเชนที่มีความโปร่งใส ทุกคนใน Node สามารถตรวจสอบกันได้ ความกังวลในเรื่องนี้จะหมดไปทันที

บทความอื่นที่เกี่ยวข้อง : บล็อกเชนถูกแฮ็คได้หรือไม่?

ห้า..ไม่เกิดภาวะเงินเฟ้อนโยบายประชานิยมด้วยการแจกเงินให้กับประชาชนนบางประเทศอาจมีปัญหาทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อเพราะพิมพ์เงินออกมาในระบบเกินจำเป็น แต่บิทคอยน์ถูกสร้างขึ้นในจำนวนจำกัดเพียง 21 ล้านหน่วย ไม่มีปัญหาโอเวอร์ซัพพลายอย่างแน่นอนซึ่งต่างจากการใช้ Fiat Currency

หก..เงินในกระเป๋าเราอาจจะลดลงได้ในข้อดีก็มีข้อเสีย ถ้าเราถือบิทคอยน์ไว้กับตัว โอกาสจะมีทั้งมูลค่าที่เพิ่มขึ้นและลดลงตามราคาในตลาด ข้อเสียที่ทำให้บิทคอยน์ยังไม่ได้รับการยอมรับในการเป็นเงินตราส่วนหนึ่งก็เพราะเหตุผลตรงนี้ด้วย

โครงการชิมช้อปใช้ถือว่าได้สร้างการเรียนรู้ในเรื่องของการใช้เงินในระบบดิจิตอลให้คนไทยได้คุ้นเคยมากขึ้น เช่นเดียวกับโครงการพร้อมเพย์ หวังว่าในอนาคตเงินสกุลดิจิตอลจะได้รับการยอมรับในวงกว้างมากขึ้นเช่นกัน

ข่าวอื่นที่เกี่ยวข้อง : ภูฏาน สร้างเหรียญ Cryptocurrency ของตัวเองชื่อ Prizm

Leave a comment

เกี่ยวกับ NewsFirstLine

สื่อชั้นนำด้านบล็อกเชนและคริปโตในภูมิภาคเอเชีย นำเสนอข่าวสารด้านเทคโนโลยีและการลงทุนในสกุลเงินดิจิทัลอย่างรอบด้านและเจาะลึก ครอบคลุมทั้งภูมิภาคเอเชียเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะสิงคโปร์และประเทศไทย

สมัครรับข่าวสารจาก SCN