fbpx
Skip to content Skip to footer

บริษัทชั้นนำของโลกแห่ยื่นจดสิทธิบัตรด้านบล็อกเชนในจีน

มีการรายงานจากสำนักงานการบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาแห่งชาติของจีนถึงการจดสิทธิบัตรด้านเทคโนโลยีบล็อกเชนกว่า 2,191 ฉบับระหว่างปี 2017 – 2019 ซึ่งเป็นหนึ่งในตัวบ่งชี้ว่าจีนกำลังจะกลายเป็นศูนย์กลางของเทคโนโลยีบล็อกเชนของโลก

นอกไปจากนั้น มีรายงานจาก Global Times ว่าจวบจนถึงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา มีองค์กรธุรกิจชั้นนำของโลกกว่า 35 ราย อาทิเช่น Mircrosoft Walmart, Mastercard, Sony, and Intel ได้ยื่นขอจดสิทธิบัตรด้านบล็อกเชนกว่า 212 ฉบับ

ในบรรดาบริษัทข้ามชาติที่มาจดสิทธิบัตรด้านบล็อกเชนในประเทศจีนนั้น บริษัท Mastercard มีจำนวนสิทธิบัตรมากที่สุดคือ 46 ฉบับ แม้ไม่เคยมีข่าวว่า Mastercard จะเข้ามาดำเนินธุรกิจในประเทศจีนมาก่อน โดยการจดสิทธิบัตรเหล่านี้อาจเป็นการเตรียมความพร้อมต่อบริการชำระเงินทั่วโลกด้วยบล็อกเชน ซึ่ง Mastercard กำลังพัฒนาเทคโนโลยีร่วมกับบริษัทซอฟต์แวร์ R3 อยู่ในปัจจุบัน

ขณะที่บริษัท Nokia, Intel และ Oracle มีสิทธิบัตรด้านบล็อกเชนจำนวน 13, 12 และ 9 ฉบับตามลำดับในประเทศจีน 

แม้บริษัทเหล่านี้จะยื่นจดสิทธิบัตรด้านบล็อกเชนในประเทศจีน แต่ก็ยังไม่มีรายงานถึงการเริ่มในธุรกิจในอุตสาหกรรมในจีนแต่อย่างใด โดยคาดการณ์ได้ว่า อาจจะเป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับอนาคตนั่นเอง

ขณะที่บริษัทสัญชาติอเมริกันแห่ยื่นจดสิทธิบัตรบล็อกเชนในจีน แต่กลับไม่มีบริษัทสัญชาติจีนไปยื่นจดสิทธิบัตรด้านบล็อกเชนในสหรัฐฯแต่อย่างใด โดยมีเพียง 4.17% ของสิทธิบัตรจากทั้งหมด 1.2 ล้านฉบับของบริษัทจีนได้ทำการจดสิทธิบัตรในต่างประเทศ ขณะที่สิทธิบัตรจากบริษัทสัญชาติสหรัฐฯกว่า 43% จากทั้งหมด 521,802 ฉบับ ทำการจดอยู่ในต่างประเทศ

ต้นปีที่ผ่านมาสำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาแห่งชาติของจีนได้ปรับปรุงกระบวนการยื่นจดสิทธิบัตรและแนวทางการประยุกต์ใช้สิทธิบัตรสำหรับเทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น บล็อกเชน ปัญญาประดิษฐ์(AI) และ Big Data สะท้อนให้เห็นถึงกลยุทธ์การส่งเสริมเทคโนโลยีและการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของจีนที่พัฒนาไปไกลมาก

ข่าวอื่นที่เกี่ยวข้อง : แม้บริษัทหลอกลวงส่วนใหญ่จะล้มหายไป แต่อนาคตบล็อกเชนของจีนก็ไม่ได้สดใสอย่างที่หวัง?

Leave a comment

เกี่ยวกับ NewsFirstLine

สื่อชั้นนำด้านบล็อกเชนและคริปโตในภูมิภาคเอเชีย นำเสนอข่าวสารด้านเทคโนโลยีและการลงทุนในสกุลเงินดิจิทัลอย่างรอบด้านและเจาะลึก ครอบคลุมทั้งภูมิภาคเอเชียเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะสิงคโปร์และประเทศไทย

สมัครรับข่าวสารจาก SCN