fbpx
Skip to content Skip to sidebar Skip to footer

รัสเซียเปิดลงประชามติแก้ไขรัฐธรรมนูญ ต่ออำนาจ”ปูติน” ด้วยเทคโนโลยีบล็อกเชน

putin

ประชาชนที่อาศัยอยู่ในกรุงมอสโก เมืองหลวงของประเทศ รัสเซีย จะทำการโหวต ประชามติ แก้ไขรัฐธรรมนูญผ่านระบบลงคะแนนที่ใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน อ้างอิงจากประกาศของรัฐบาลรัสเซีย

เจ้าหน้าที่รัฐได้ยืนยันว่าการใช้บล็อกเชนมาเพื่อช่วยให้การโหวตประชามติจะทำให้การลงคะแนนมีความปลอดภัยและโปร่งใสมากขึ้น โดยในประกาศอธิบายไว้ว่า “ระบบลงคะแนนนี้ไม่ได้มีเซิฟเวอร์กลางเพียงตัวเดียว การที่จะเข้าไปแก้ไขข้อมูลอะไรได้นั้นต้องได้รับความเห็นชอบจาก Node เกินกว่าครึ่งหนึ่ง ด้วยเทคโนโลยีบล็อกเชนนี้ การแฮ็กข้อมูลจึงเป็นไปไม่ได้เลย”

นอกจากนี้ประกาศยังระบุอีกว่าจะไม่มีการเปิดเผยตัวตนของผู้โหวตและทุกคะแนนเสียงจะถูกเข้ารหัสไว้ โดยสามารถเข้าถึงได้ผ่านกุญแจสองดอกเท่านั้น โดยดอกแรกผู้ทำการลงคะแนนจะเป็นคนถือไว้ และอีกดอกหนึ่งจะถูกแบ่งและกระจายเก็บไว้ตาม Node ต่าง ๆ

การลงคะแนนเสียงครั้งนี้จะเกิดขึ้นระหว่างวันที่ 25 – 30 มิ.ย. ผ่านระบบออนไลน์บนเว็บไซต์ที่สร้างมาเพื่อการโหวตประชามติครั้งนี้โดยเฉพาะ โดยผู้ร่วมโหวตจะต้องล็อคอินผ่านแอคเค้าท์ที่ใช้กับงานราชกาลและจะได้รับบัตรโหวตดิจิทัลเพื่อทำการลงคะแนน

“บัตรโหวตดิจิทัลทำงานเหมือนบัตรกระดาษทั่ว ๆ ไป โดยประชาชนเพียงแค่ต้องเลือกระหว่าง ‘เห็นด้วย’ หรือ ‘ไม่เห็นด้วย’ กับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ”

โดยใจความสำคัญของการแก้รัฐธรรมนูญในครั้งนี้คือการแก้ไขให้ประธานาธิบดี นาย Vladimir Putin สามารถขยายระยะเวลาการตำรงดำแหน่งและอยู่อำนาจต่อไปจนถึงปี 2036 ได้หรือไม่

แม้เนื้อหาการแก้ไขรัฐธรรมนูญในครั้งนี้จะมีหลายประการ แต่ประชาชนไม่สามารถเลือกโหวตเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยเฉพาะข้อ แต่จำเป็นต้องเลือกว่าจะยอมรับหรือไม่ยอมรับการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งหมด นี่จึงก่อให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ว่าพยายามสอดแทรกข้อแก้ไขที่เป็นประโยชน์แก่รัฐบาลเข้าไปโดยประชาชนไม่สามารถเลือกได้ว่าจะต้องการแก้ไขข้อไหนโดยเฉพาะ

ข่าวอื่นที่เกี่ยวข้อง: Bitmain วุ่น เกิดรัฐประหารครั้งใหม่นำกำลังหลายสิบนายบุกออฟฟิศ

Leave a comment

เกี่ยวกับ NewsFirstLine

สื่อชั้นนำด้านบล็อกเชนและคริปโตในภูมิภาคเอเชีย นำเสนอข่าวสารด้านเทคโนโลยีและการลงทุนในสกุลเงินดิจิทัลอย่างรอบด้านและเจาะลึก ครอบคลุมทั้งภูมิภาคเอเชียเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะสิงคโปร์และประเทศไทย

สมัครรับข่าวสารจาก SCN