fbpx
Skip to content Skip to footer

Decentralize Finance สุดท้ายจะเป็นฟองสบู่เช่นเดียวกับ ICO หรือไม่??

Decentralize Finance หรือ Defi เป็น Buzz Word ที่ถูกกล่าวถึงอย่างมากในโลกของสินทรัพย์ดิจิทัลในปีนี้เช่นเดียวกับ Bitcoin Halving และ Ethereum2.0 ด้วยมูลค่ามาร์เกตแคปที่เติบโตอย่างรวดเร็ว ล่าสุดมีมูลค่าที่ถูกล๊อกเอาไว้ใช้งานแล้วแตะ 2,000 ล้านดอลลาร์

เหรียญที่ร้อนแรงในช่วงที่ผ่านมาอย่าง COMP ที่ก้าวขึ้นมาเป็นเหรียญ Defi อันดับหนึ่งมีราคาที่พุ่งขึ้นอย่างร้อนแรงนับตั้งแต่มีการกระจายเหรียญออกมาและเข้าลิสต์ในเวบ Coinbase 

กระแสการเติบโตที่รวดเร็วของ Defi ทำให้มีการจับตาว่าสุดท้ายแล้วจะเป็นกระแสชั่ววูบและแตกอย่างรวดเร็วแบบ ICO ในปี 2017 หรือไม่ เรามาวิเคราะห์ในข้อเท็จจริงกัน

ไม่ใช่ใครก็ได้ที่สร้าง Defi ขึ้นได้

หากเปรียบเทียบกับการทำ ICO แล้ว DecentralizeFinance มีความแตกต่างคือเป็นโปรเจกต์ที่ถูกสร้างขึ้นเสร็จเรียบร้อยแล้วและปล่อยออกสู่ตลาด เท่ากับว่ายังมีพื้นฐานทางด้านเทคโนโลยีเกิดขึ้นจริง 

ขณะที่ ICO เกือบทั้งหมดไม่มีเทคโนโลยีเกิดขึ้นจริง เป็นเพียงการขายโปรเจกต์บนแผ่นกระดาษ และส่วนมากจะระดมทุนกันสูงเกินความเป็นจริง ทำให้โปรเจกต์ ICO ส่วนใหญ่จึงล้มเหลวตั้งแต่การระดมทุนรอบแรก

โทเคนส่วนใหญ่ยังเป็น Governance Token

โทเคนหลักๆของ Defi เช่น MKR และ COMP ต่างมีคุณสมบัติของการเป็น Governance Token กล่าวคือใช้สำหรับเป็นสิทธิในการโหวตในชุมชนของผู้ใช้งาน ผู้ที่ถือครองโทเคนจำนวนมากจึงแทบไม่มีผลต่อการปั่นราคา

นอกจากนี้ตัวชี้วัดมูลค่าของ Defi คือมูลค่าเหรียญที่ถูกล๊อกไว้เพื่อเป็นหลักประกันในการใช้งาน ซึ่งเป็นตัวเลขที่สะท้อนมูลค่าพื้นฐานของโปรเจกต์ไม่ได้วัดกันที่มูลค่าของมาร์เกตแคปซึ่งสามารถเติบโตได้ด้วยการปั่นราคาเหรียญ

มูลค่าเหรียญที่ถูกล๊อกไว้เพื่อใช้งานจึงเป็นตัวชี้วัดว่า Decentralize Finance ได้รับการยอมรับและใช้งานมากขึ้นจริงหรือไม่ ขณะที่ ICO มักจะวัดมูลค่าด้วยราคาเหรียญซึ่งใช้เงินจำนวนไม่มากก็สามารถเก็งกำไรได้

อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ว่าจะเกิดฟองสบู่ใน Defi ไม่ได้ ขอให้จับตาประเด็นดังกล่าวนี้ไว้ หากเกิดขึ้นจะแสดงถึงแนวโน้มที่จะเกิดฟองสบู่ได้เช่นกัน

อัตราดอกเบี้ยที่สูงเกินความเป็นจริง

แม้อัตราดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนจากการปล่อยกู้ใน DecentralizeFinance จะเป็นไปตามดีมานด์และซัพพลายในตลาด กล่าวคือหากมีความต้องการกู้เหรียญใดเหรียญหนึ่งมากเป็นพิเศษผลตอบแทนจะสูงขึ้น

แต่หากเกิดปรากฎการณ์ที่ผลตอบแทนสูงเกินความจริง เช่นแตะระดับเลขสองหลักขึ้นไป อาจกล่าวได้ว่าเป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้น เพราะ Defi ควรที่จะเข้ามาเติมเต็มความบกพร่องของระบบการเงินดั้งเดิม ไม่ควรที่จะให้ผลตอบแทนที่ผิดปกติเสียเอง

ทั่วไปแล้วผลตอบแทนจากหุ้นกู้หรือพันธบัตรที่มีความเสี่ยงสูงจะอยู่ในระดับไม่เกิน 8-9% หากผลตอบแทนจากการปล่อยกู้ใน Defi สูงเกินไปกว่านั้นแสดงว่าการลงทุนนั้นเป็นความเสี่ยงแล้ว

เริ่มถูกนำไปใช้ระดมทุนคล้ายกับแชร์ลูกโซ่

การหลอกลวงด้วยการชักจูงให้ลงทุนและชักชวนผู้อื่นต่อหรือที่เรียกว่าแชร์ลูกโซ่มีวิวัฒนาการมาอย่างต่อเนื่องและมักจะถูกสวมรอยโดยกระแสที่มาแรงในช่วงนั้นๆตั้งแต่ กระแสเอไอ เงินดิจิทัล ไอซีโอ 

เมื่อไรที่คำว่า Defi ถูกนำมาใช้เป็น Buzz Word ในการชักชวนให้ลงทุนเมื่อไร นี่คือสัญญาณหนึ่งว่าเข้าสู่ภาวะฟองสบู่แล้ว

บทความอื่นที่เกี่ยวข้อง : Decentralized Finance เทคโนโลยีที่จะมาแทนที่ธนาคาร?

Leave a comment

เกี่ยวกับ NewsFirstLine

สื่อชั้นนำด้านบล็อกเชนและคริปโตในภูมิภาคเอเชีย นำเสนอข่าวสารด้านเทคโนโลยีและการลงทุนในสกุลเงินดิจิทัลอย่างรอบด้านและเจาะลึก ครอบคลุมทั้งภูมิภาคเอเชียเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะสิงคโปร์และประเทศไทย

สมัครรับข่าวสารจาก SCN