fbpx
Skip to content Skip to sidebar Skip to footer

Shell สร้างโรงไฟฟ้าเสมือน ใช้บล็อกเชนเพื่อช่วยในการจัดเก็บพลังงาน

Sonnen Group บริษัทในเครือ Royal Dutch Shell ประกาศความร่วมมือกับ Energy Web Foundation (EWF) เพื่อใช้บล็อกเชนของ EWF สำหรับสร้างโรงไฟฟ้าเสมือน (VPP) ในประเทศเยอรมนี

โรงไฟฟ้าเสมือน (VPP) จะใช้ระบบบัญชีแบบกระจายศูนย์ (DLT) เพื่อเก็บข้อมูลและลดการสูญเปล่าของพลังงานส่วนเกินที่มีต้นกำเนิดมาจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนต่าง ๆ ทั่วประเทศ

ประเทศเยอรมันมีแผนจะยกเลิกการใช้และทยอยปิดโรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหินและนิวเคลียร์ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า จึงก่อให้เกิดการขยายตัวของบริษัทผู้ผลิตพลังงานทดแทนจำนวนมากเพื่อตอบสนองต่อความต้องการใช้พลังงาน

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการผลิตพลังงานหมุนเวียนและความต้องการใช้พลังงานนั้นแปรผันตามฤดูกาล จนทำให้บางครั้งมีพลังงานผลิตออกมาเกินความต้องการเป็นจำนวนมาก โดยในปี 2018 เยอรมนีจำต้องลดการผลิตพลังงานกว่า 5.4 TWh และเพียงแค่ในไตรมาสแรกของปี 2019 มีพลังงานลมส่วนเกินกว่า 3.2 TWh ที่ไม่ได้ถูกทำไปใช้

โรงไฟฟ้าเสมือน (VPP) ดูดซับพลังงานลมส่วนเกิน

โรงไฟฟ้าเสมือน (VPP)  ของ Sonnen จะสนับสนุนโครงข่ายพลังงานระดับภูมิภาค โดยทำการดูดซับพลังงานลมส่วนเกินและนำมาเก็บไว้ในเครือข่ายที่เรียกว่า “Sonnenbatteries” ซึ่งมีการเชื่อมต่อระหว่างกันโดยใช้ระบบ DLT เพื่อสร้างเป็นโรงไฟฟ้าเสมือนขึ้นมา โดยธุรกรรมที่เกิดขึ้นระหว่างโครงข่ายพลังงานและ Sonnen ดำเนินการผ่าน Smart Contracts โดยค่าธรรมเนียมจะอยู่ในรูปแบบของสเตเบิ้ลคอยน์ Dai

ความพยายามเข้ามาแก้ปัญหาพลังงานส่วนเกินโดยใช้โรงไฟฟ้าเสมือนจริงนี้ มีเป้าหมายที่จะช่วยเหลือให้ประเทศเยอรมนีสามารถขยายและพัฒนาการผลิตพลังงานไฟฟ้าทดแทนให้มากขึ้นโดยขจัดความกังวลเกี่ยวกับพลังงานไฟฟ้าส่วนเกินที่ปรกติแล้วต้องเสียเปล่าไป

นาย Micha Roon CTO ของ Energy Web Foundation กล่าวว่า “การใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนเพื่อจัดเก็บพลังงานส่วนเกินไปยังเครือข่ายแบตเตอรี่ที่มีอยู่ทั่วประเทศโดยไม่ให้เสียเปล่านั้นถือเป็นวิสัยทัศน์แห่งอนาคต”

กรรมการผู้จัดการของ Sonnen eServices นาย Jean-Baptiste Cornefert กล่าวว่า “โรงไฟฟ้าเสมือนอย่างของ Sonnen นั้นจะมาเติมเต็มสิ่งที่ผู้ผลิตไฟฟ้าขาด และลดการสูญเสียพลังงานที่ผลิตมาเป็นส่วนเกินได้เป็นอย่างดี” เขายังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า

ผู้ผลิตพลังงานหมุนเวียนในเยอรมนีหันมาใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนกันมากขึ้น

ภาคพลังงานของประเทศเยอรมนีนั้นมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยผู้ผลิตพลังงานสะอาดจำนวนมากกำลังให้ความสนใจกับเทคโนโลยีบล็อกเชนในการเข้ามาช่วยจัดการระบบของพวกเขา

เมื่อวันที่ 9 มีนาคมที่ผ่านมา ผู้ให้บริการเทคโนโลยีบล็อกเชน Unibright (UBT) ประกาศถึงการร่วมมือกับบริษัทสตาร์ทอัพด้านพลังงานในเยอรมัน Wasserkraft Mittelrhein เพื่อสร้างเครือข่ายที่ไม่มีศูนย์กลางสำหรับทุ่นลอยผลิตกระแสไฟฟ้าบนแพลตฟอร์มของ Unibright 

โดยทุ่นลอยที่ใช้ในการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากคลื่น หรือ “Power-bouys” ของ Wasserkraft มีความยาวมากกว่า 36 ฟุตและหนักกว่าเจ็ดตัน โดยทุ่นแต่ละอันจะสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าให้กับครัวเรือนได้มากถึง 100 แห่งต่อปี โดยทางบริษัทตั้งเป้าว่าจะติดตั้งทุ่นพลังงานทั้งหมด 16 ตัว

ข่าวอื่นที่เกี่ยวข้อง: โตโยต้าเปิดตัว “Toyota Blockchain Lab” หลังจากซุ่มทำวิจัยนานถึง 11 เดือน

Leave a comment

เกี่ยวกับ NewsFirstLine

สื่อชั้นนำด้านบล็อกเชนและคริปโตในภูมิภาคเอเชีย นำเสนอข่าวสารด้านเทคโนโลยีและการลงทุนในสกุลเงินดิจิทัลอย่างรอบด้านและเจาะลึก ครอบคลุมทั้งภูมิภาคเอเชียเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะสิงคโปร์และประเทศไทย

สมัครรับข่าวสารจาก SCN